เมนู

วาสนาได้กระทำมาเป็นสภาวะบริสุทธิ์ กับพระภิกษุปุถุชนนั้นก็ได้พระอริยผลเหมือนกัน
แต่ทว่าเร็วกับช้า บุคคลที่มีวาสนาเป็นสภาวะบริสุทธิ์ได้ผลก่อน ขอถวายพระพร
ประการหนึ่ง บพิตรพระราชสมภารจงทรงพระสวนาการฟังซึ่งอุปมาให้ภิยโยภาวะประ
หลาดไปอีกอย่างหนึ่งเล่า เปรียบดังบุรุษชาย 2 คนจะกระทำกิจธุระสักอย่างหนึ่งอย่างใด คนหนึ่ง
เป็นคนเข้าใจในกิจธุระนั้นก็กระทำให้สำเร็จไปได้เองแต่ผู้เดียว อีกคนหนึ่งไม่รู้จักทำ ต้องจ้าง
เขาด้วยทรัพย์จึงทำได้ แต่ก็ทำให้สำเร็จได้เหมือนกัน ผิดกันที่ช้ากับเร็วเท่านั้น ความนี้เปรียบ
ฉันใด ท่านผู้มีบุพพวาสนาได้กระทำมาเป็นสภาวะบริสุทธิ์แล้ว กับพระภิกษุที่เป็นปุถุชนนั้น ก็
สำเร็จพระอริยผลเหมือนกันแล แต่ทว่าช้ากับเร็ว ที่บุคคลมีบุพพวาสนานั้นจะได้วสีในอภิญญา
6 นั้น ขณะจิตเดียวก็ได้โดยเร็วพลัน จะได้ช้าอยู่จนสองขณะจิตหามิได้ ส่วนพระภิกษุที่เป็น
ปุถุชนนั้นช้าอยู่ จะต้องพากเพียรเล่าเรียนไปโดยลำดับก่อน กว่าวาสนาจะแก่กล้า เหตุฉะนี้
สมเด็จพระบรมครูสัพพัญญูผู้ประเสริฐ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสให้โอวาทคำสั่งสองพระภิกษุ
ืทั้งหลาย ให้มั่นหมายกำหนัดยินดีในฝ่ายที่จะได้ซึ่งนิปปปัญจธรรมคือพระอริยผลนั้น การที่
พระองค์มีพระพุทธฎีกาเช่นนั้น จะนับว่าเป็นอันพระองค์ตรัสห้ามปราม มิให้พระภิกษุเล่าเรียน
บอกกล่าวพระไตรปิฎกสืบไปหามิได้ บพิตรจงทราบดังวิสัชนามานี้ ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้ทรงสดับข้อวิสัชนาปัญหานี้ ท้าวเธอทรงเลื่อมใสยินดี
ด้วยถ้อยคำพระนาคเสนผู้เฉลิมปราชญ์ ก็ตรัสประภาษสาธุการดุจนัยหนหลัง
นิปปปัญจปัญหา คำรบ 2 จบเพียงนี้

คีหิอรหัตตปัญหา ที่ 3


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ขัตติยาธิราชผู้มีบุพพวาสนาจะได้สำเร็จแก่พระปวราม-
ฤตยาธิคตธรรมอันประเสริฐคือจะได้พระนิพพานในปัจจุบัน จึงมีพระราชโองการถามปัญหา
พระนาคเสนสืบไปเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสนเถระผู้มั่นในอริยศีล
สังวรวินัย ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้กับโยมแต่เดิมว่า ฆราวาสได้พระอรหัตนั้นมีคติ 2
ประการ คือจะต้องบวชเสียในวันอันได้พระอรหัตนั้นประการ 1 ข้อหนึ่งบุคคลเป็นฆราวาส
ได้สำเร็จพระอรหัตแล้ว ไม่บวชเสียในวันนี้จะเข้าสู่พระนิพพานในวันที่ได้พระอรหันต์นั้ประการ
1 เป็นคติสิริเป็น 2 ประการแน่ ดังนี้หรือกระไร

พระนาคเสนผู้ประกอบไปด้วยญาณปรีชา มีเถรวาจารับพระราชโองการว่า อาม มหา-
ราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เป็นความจริงดุจพระราชโองการตรัสมานั้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ผู้เป็นปิ่นสาคลราช มีพระราชโองการตรัสประภาษถามซักอีกเล่าว่า
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าฆราวาสได้พระอรหัตแล้วจะบวชในวันนั้น ก็หามีอุปัชฌาย์อาจารย์ที่
ท่านจะบวชให้ไม่ จะบวชเอาเองก็ดี จะคอยท่าหาอุปัชฌาย์อาจารย์ที่ท่านผู้มีฤทธิ์เหาะได้ ช้าไป
จนวัน 1 หรือ 2 วันก็ดี จะได้หรือไม่ได้เล่า พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารพระ
องค์ผู้ประเสริฐ ซึ่งฆราวาสได้พระอรหัตในวันใด ต้องบวชในวันนั้น ในสำนักครูบาอาจารย์
โดยปรกติที่ว่าจะกระทำเหมือนพระโองการตรัสฉะนี้ จะได้บวชเอาเองก็ดี จะให้คอยเท่า
อุปัชฌาย์อาจารย์ท่านผู้มีฤทธิ์อันจะเหาะมาบวชให้ก็ดี ช้าไปวัน 1 หรือ 2 วัน เช่นนี้ไม่ได้
ถ้าบวชเองก็เป็นไถยเพศ มิได้เรียกว่าบรรพชา ประการหนึ่ง ถึงจะคอยท่าพระอรหันต์อันมีฤทธิ์
รู้จักจิตว่าจะบรรพชาจึงจะเหาะมาบวชให้ก็ไม่ได้ ถ้าช้าไปจนวัน 1 หรือ 2 วัน เกินกำหนดไป
ก็คงจะเข้าสู่นิพพานในวันนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ผู้เป็นปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณอันประเสริฐ พระผู้เป็นเจ้าสิว่ากระนั้น ก็ฆราวาสนี้ถ้าได้ถึงพระ
อรหัตแล้วน่าที่จะดีทีเดียว ไฉนจึงร้อนรนถึงสิ้นชีวิตฉะนี้เล่า
พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชาเฉลิมปราชญ์ จึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระ
พรบพิตรพระราชสมภาร เป็นด้วยเพศฆราวาสนี้ต่ำไม่สมควรแก่พระอรหัต ภูมิคฤหัสถ์นี้เป็น
ภูมิอันต่ำช้านัก จึงต้องให้ละเพศฆราวาสบวชเสียในวันที่ได้พระอรหัตนั้น นี่แหละเพศแห่ง
บรรพชิตผิดกันต่างกัน อุปมาดังบุคคลอันเคยรับประทานอาหารเลี้ยงชีวิต มีชีวิตอยู่เพราะอาศัย
อาหารครั้นมาเป็นทุพภิกขกาลเกิดข้าวแพงหาอาหารบริโภคมิได้ บุรุษผู้นั้นอดอาหารอยู่หลายวัน
ครั้นหาอาหารได้ บุรุษชายนั้นบริโภคจนเกินขนาด เตโชธาตุมิอาจเผาผลาญได้ บุรุษผู้นั้นก็ถึง
แก่ชีวิตักษัยกระทำกาลกิริยาตาย จะว่าบุรุษชายนั้นไม่รู้ประมาณ หรือจะโทษเอาอาหารว่า
ตายเพราะอาหารหรือประการใดเล่า
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชาญาณ อาหารเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตจะเป็นยาพิษหามิได้ บุรุษผู้นั้นมาสิ้นชีวิตด้วย
โลภในอาหาร รับประทานเกินขนาดไป จะโทษอาหารอย่างไรได้
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ฉันใดก็ดี ภูมิฆราวาสต่ำนักไม่อาจต้านทานพระอรหัต

เปรียบดุจคนอดอาหาร ต้านทานอาหารไม่ได้ฉะนั้น เหตุฉะนี้แหละฆราวาสที่ได้พระอรหัตจึง
ต้องบรรพชาเสีย หรือนิพพานเสียในวันนั้น นะบพิตรพระราชสมภาร
อีกประการหนึ่งเล่า เปรียบอุปมาดุจกลุ่มหญ้าอันน้อยนักบุคคลจะเอาศิลาอันหนักทับลง
กลุ่มหญ้าอันน้อยมิอาจทนทานศิลานั้นได้
ประการหนึ่ง เปรียบดังบุคคลประกอบได้บุญอันน้อย ได้สมบัติอันเป็นอิสรภาพแล้ว
มิอาจปราบดาภิเษกครองราชสมบัติได้ ไม่คู่ควรที่จะครองราชสมบัติ ก็บังเกิดความฉิบหาย
อันตรายต่าง ๆ ถึงกับต้องประหารชีวิตทนเวทนาสาหัส จะโทษสมบัติว่า สมบัติร้อนพาให้อายุ
นั้นหรือประการใดเล่า ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า จะ
โทษเอาสมบัติว่าราชสมบัติร้อนหาชอบไม่เลย ฝ่ายผู้นั้นบุญน้อยไม่ควรที่จะเสวยจึงเป็นอันตราย
ฉิบหายต่าง ๆ จนถึงอาสัญ
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ความนี้ฉันใดก็ดี อันว่าภูมิเพศฆราวาสนี้ต่ำช้า มิควรที่
จะครองพระบวรวิมุตติเศวตฉัตรได้ แม้สำเร็จพระอรหัตตัดกิเลสวันใดแล้ว ก็ควรบวชเข้าในบวช
พุทธศาสนาในกาลวันนั้น เหตุว่าเพศบรรพชิตนี้สมควรที่จะทรงซึ่งพระบวรวิมุตติเศวตฉัตรได้
พระบวรวิมุตติเศวตฉัตรคือพระอรหัตมรรคพระอรหัตผล เพศฆราวาสนั้นทุพพลมิอาจทรงได้
ขอถวายพระพร
ราชา ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทรราช ได้ทรงฟังโอวาทวิสัชนาก็ซ้องสาธุการ
ต่าง ๆ สรรเสริญพระนาคเสนว่าประกอบด้วยญาณปรีชา
คีหิอรหัตตปัญหา คำรบ 3 จบเพียงนี้

โลมกัสสปปัญหา ที่ 4


ราช อาห

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทรมหากษัตริย์มีพระราชโองการตรัสถามปัญหา
อื่นสืบไปเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าอันประกอบด้วยวรปรีชา สมเด็จ
พระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ มีพระพุทธฎีกาว่าดังนี้ ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย เมื่อ
ตถาคตยังขวนขวายสร้างพระบารมี พระบารมียังอ่อนอยู่นั้น ได้เสวยพระชาติเป็นมนุษย์เป็นอวิ-